สิทธิการลาของข้าราชการมีหลายประเภทและเงื่อนไขต่าง ๆ ซึ่งสิทธิการลาข้าราชการมักถูกกำหนดโดยกฎหมาย, พระราชบัญญัติและข้อบังคับของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีอำนาจในการจัดการงานของข้าราชการนั้น วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสิทธิการลาของผู้ที่ทำงานเป็นข้าราชการมาไว้ในบทความนี้แล้ว ติดตามไปพร้อมกันกับ PartTimeTH ได้เลย
สิทธิการลาของข้าราชการมี 11 ประเภท ได้แก่
1. ลาป่วย
สิทธิการลาของข้าราชการ เป็นการลาหยุดราชการเพื่อพักรักษาตัวเมื่อมีอาการป่วยไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ หรือเข้ารับการรักษาตัวกับแพทย์ สามารถลาป่วยได้ตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป แต่ต้องมีใบรับรองของแพทย์หรือการลาป่วยไม่ถึง 30 วัน ตามการพิจารณา
2. ลาคลอดบุตร
สิทธิการลาคลอดบุตรของข้าราชการ เป็นการลาหยุดราชการของข้าราชการสตรีซึ่งมีครรภ์ในช่วงก่อนคลอด วันคลอด และหลังคลอดสามารถขอลาได้เฉพาะข้าราชการเพศหญิงเท่านั้นซึ่งสามารถลาได้ไม่เกิน 90 วัน (นับต่อเนื่องรวมวันหยุดราชการ) และต้องมีใบรับรองแพทย์แนบท้ายในการยื่นลา
3. ลาไปช่วยภริยาที่คลอดบุตร
สิทธิการลาไปช่วยภริยาที่คลอดบุตร เป็นการลาหยุดราชการของข้าราชการชายเพื่อไปช่วยเหลือภริยาโดยชอบ ด้วยกฎหมายที่คลอดบุตร สามารถลาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คลอดบุตร และให้มีสิทธิลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ ไม่เกิน 15 วันทําการโดยจะลาเป็นช่วง ๆ เว้นระยะไม่ได้
4. ลากิจส่วนตัว
สิทธิการลากินส่วนตัว เป็นการลาหยุดราชการเพื่อทำกิจธุระต่าง ๆ เช่น ลากิจเพื่อดูแลบุคคลในครอบครัว ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 150 วันทําการ
5. ลาพักผ่อน
สิทธิการลาพักผ่อน เป็นการลาหยุดราชการเพื่อพักผ่อนประจำปี หรือเพื่อไปทำกิจธุระต่าง ๆ ซึ่งข้าราชการสามารถไปพักผ่อนประจําปี ในปีงบประมาณหนึ่งได้ 10 วันทําการ (เว้นแต่รับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน)
6. ลาติดตามผู้สมรส
สิทธิการลาติดตามผู้สมรส เป็นการลาหยุดราชการของข้าราชการเพื่อติดตามสามีหรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ข้าราชการสามารถลาได้ ไม่เกิน 2 ปี และในกรณีจําเป็นอาจอนุญาตให้ลาต่อได้อีก 2 ปี แต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี พิจารณาแล้วแต่กรณี
7. ลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
- สิทธิการลาไปอุปสมบท คือ การบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา (ของข้าราชการชาย)
- สิทธิการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ คือ ข้าราชการที่นับถือศาสนาอิสลาม และประสงค์จะลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
ซึ่งทั้งการลาไปอุปบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ สามารถลาได้ไม่เกิน 120 วัน โดยจะต้องรับราชการมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน และเมื่อลาสิกขาหรือเดินทางกลับจากไปประกอบพิธีฮัจย์แล้ว จะต้องกลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการภายใน 5 วัน
8. ลาเข้ารับการตรวจเลือกและเตรียมพล
- การลาเข้ารับการตรวจเลือก เป็นการลาหยุดราชการของข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกให้ไปรับการตรวจเลือก เพื่อเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ
- การลาเข้ารับการเตรียมพล เป็นการลาหยุดราชการของข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกให้ไปเข้ารับการระดมพล เข้ารับการตรวจสอบพล เข้ารับการฝึกวิชาทหาร หรือเข้ารับการทดลองความพรั่งพร้อมตามกฎหมาย
เมื่อพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพลแล้ว ให้มารายงานตัวกลับเข้าไปปฏิบัติราชการตามปกติต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 7 วัน ยกเว้นแต่มีเหตึจำเป็น อธิการบดีอาจจะขยายเวลาให้ได้ให้แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 วัน
9. ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย
การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย เป็นการลาหยุดราชการเพื่อไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการ วิจัย หรือดูงาน ณ ต่างประเทศ สามารถลาได้ไม่เกิน 1 ปี และเมื่อปฏิบัติงานแล้วเสร็จ ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ภายใน 15 วัน
10. ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
การลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ เป็นการลาหยุดราชการของข้าราชการซึ่งจะประสงค์จะไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และเมื่อปฏิบัติงานแล้วเสร็จให้กลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ภายใน 15 วัน
11. ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ เป็นการลาหยุดราชการของข้าราชการที่ได้ปฏิบัติราชการและได้รับ อันตรายหรือเจ็บป่วยเพราะเหตุปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ จนตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการและประสงค์ที่จะเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายเพื่อกลับมาปฏิบัติราชการหรือจำเป็นต่อการประกอบอาชีพ ซึ่งสามารถลาได้ครั้งหนึ่งตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรที่จะประสงค์ลา แต่ไม่เกิน 12 เดือน
ติดตามประกาศรับสมัครงานเพิ่มเติมได้ที่ Facebook หางาน Part Time งานพิเศษ ทำที่บ้าน เสาร์ อาทิตย์