ปวดหัวข้างเดียว อันตรายไหม? อาการปวดหัวมักจะถูกมองข้ามให้เป็นเรื่องเล็กๆ เพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อย คิดว่ากินยาก็หาย แต่ในหลายคนการปวดหัวคือสัญญาณเตือนของโรคร้ายที่มีอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นการปวดหัวจึงไม่ใช่เรื่องที่ควรปล่อยผ่านไปง่ายๆ เพราะอาจเป็นสาเหตุที่รุนแรงและมีอันตรายได้ในอนาคต อาการปวดหัวสามารถเป็นโรคอะไรได้บ้าง ParttimeTH ได้รวบรวมไว้ในบทความนี้แล้ว
ปวดหัวข้างเดียวบอกโรคอะไรบ้าง
1. โรคไมเกรน
มีอาการปวดหัวข้างเดียว มักปวดข้างเดียวซ้ำๆ จะเริ่มปวดรอบๆ กระบอกตาก่อน ลักษณะอาการปวดแบบตุบๆ เป็นระยะ ปานกลางถึงรุนแรง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไวต่อแสงและเสียงร่วมด้วย อาการมักกินเวลานานเป็นชั่วโมง หรืออาจปวดนานหลายวัน2. ปวดหัวแบบคลัสเตอร์
อาการปวดหัวจะคล้ายไมเกรน รุนแรงขึ้นไปอีกระดับ มักปวดบริเวณรอบดวงตา เบ้าตา อาจมีอาการตาแดง น้ำตาไหล หนังตาตกร่วมด้วย อาการมักกินเวลา 15 นาที – 3 ชั่วโมง มักเป็นๆ หายๆ ในช่วงเวลาเดิมของวัน โดยผู้ชายจะเป็นมากกว่าผู้หญิง3. ปวดหัวเครียด
มักปวดหัวทั้งสองข้างตื้อๆ ที่ขมับ หน้าผาก ท้ายทอย ลักษณะอาการปวดแบบรัดแน่น คล้ายถูกกดทับ บางครั้งก็ปวดข้างเดียวหนักๆ สาเหตุเกิดจากความเครียด พักผ่อนน้อย นอนไม่เพียงพอ นั่งหน้าคอมนานและใช้สายตามากเกินไป กลุ่มที่เสี่ยงมักเป็นพนักงานออฟฟิศ
4. โรคเนื้องอกในสมอง
อาการปวดหัวนี้ที่มีสาเหตุมาจากโรคเนื้องอกในสมองบางครั้งอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการไมเกรนได้ อาการจะไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยยา และจะปวดรุนแรงมากโดยเฉพาะเวลาหลังตื่นนอนพอช่วงสายๆ อาการก็จะดีขึ้น เวลาที่ออกแรงเช่น ไอ จาม การเบ่งเวลาเข้าห้องน้ำจะกระตุ้นให้ปวดเพิ่มมากขึ้น และมีอาการร่วมด้วยคือ คลื่นไส้ อาเจียน มองเห็นภาพไม่ชัด สูญเสียการทรงตัว มีอาการปวดเรื้อรังติดต่อกันหลายสัปดาห์
5. โรคเลือดออกในสมอง
ภาวะที่หลอดเลือดในสมองแตก ทำให้เลือดไหลออกไปกดเนื้อเยื่อสมอง ส่งผลต่อระบบการทำงานของสมองและระบบประสาททำให้สมองขาดออกซิเจนและสมองไม่สามารถทำหน้าที่ของส่วนนั้นได้ อาการปวดมีความรุนแรงมากแบบเฉียบพลัน สูญเสียการทรงตัว พูดไม่ชัด เหน็บชาด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้า ปากเบี้ยว มองเห็นภาพไม่ชัด ซึมลง หรือไม่รู้สึกตัว
วิธีแก้อาการเบื้องต้น
- ทานยาแก้ปวดเท่าที่จำเป็น ในผู้ใหญ่รับประทาน Paracetamal (500 mg) 1 – 2 เม็ด ห่างกัน 4 – 6 ชั่วโมง ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกิน 3 วัน หากไม่หายให้ไปพบแพทย์
- นอนพักผ่อน ในห้องที่มืด เย็น และเงียบ เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น แสง เสียง และความร้อน
- งดสูบบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน
- ผู้ป่วยโรคปวดศีรษะไมเกรน ควรใช้ยาแก้ปวดทันทีเมื่อเริ่มมีอาการ หากอาการไม่ดีขึ้น หรือปวดหัวถี่มากกว่า 3 – 4 ครั้งต่อเดือนจนกระทบต่อชีวิตประจำวัน หรือใช้ยาแก้ปวดแล้วไม่ทุเลาลงควรพบแพทย์เพื่อปรับการรักษา
แหล่งข้อมูล: “ปวดหัว” อย่าวางใจ อาจเสี่ยงโรคร้าย อันตรายถึงชีวิต โดยโรงพยาบาลเวชธานี https://www.vejthani.com/th/
ติดตามประกาศรับสมัครงานเพิ่มเติมได้ที่ Facebook หางาน Part Time งานพิเศษ ทำที่บ้าน เสาร์ อาทิตย์