- การคัดเลือก เป็นการเข้ารับการทำงานในอาชีพข้าราชการแบบไม่ต้องสอบ เช่น กรณีเป็นผู้ที่มีวุฒิการศึกษาที่สำเร็จได้ยากหรือเป็นผู้ที่ได้รับทุนจากรัฐบาลเป็นต้น
- การสอบแข่งขัน นั่นก็คือการสอบ ก.พ. นั่นเอง โดยเป็นการสอบของสำนักงานข้าราชการพลเรือน (OCSC) ที่คัดเลือกบุคคลเข้ามาปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการให้ตรงตามกับคุณสมบัติที่ทางสำนักงานข้าราชการพลเรือนกำหนด ซึ่งสามารถจำแนกประเภทของข้าราชการได้ 16 กลุ่ม
ประเภทของอาชีพข้าราชการ มีอะไรบ้าง?
- ข้าราชการพลเรือน
- ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
- ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
- ข้าราชการทหาร
- ข้าราชการตำรวจ
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการ
- ข้าราชการฝ่ายอัยการ
- ข้าราชการรัฐสภา
- ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
- ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
- ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
- ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
- ข้าราชการส่วนท้องถิ่น
- ข้าราชการการเมือง
- พนักงานของรัฐประเภทอื่นๆ
ข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการพลเรือน คือ บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง บรรจุตามพระราชบัญญัติให้ทำงานและรับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ข้าราชการพลเรือนสามัญ
- ข้าราชการข้าราชการพลเรือนในพระองค์
1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน โดยผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงานจะต้องผ่านขั้นตอนของการสอบ ก.พ. ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่งและภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
- ฝ่ายบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าและรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตำแหน่งอื่นที่ทาง ก.พ. กำหนดเป็นประเภทบริหาร
- ฝ่ายอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นประเภทอำนวยการ
- ฝ่ายวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กำหนดเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น
- ฝ่ายทั่วไป คือ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ทั้งนี้ ตามที่ ก.พ. กำหนด
2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ คือ ข้าราชการพลเรือนในสสังกัดสำนักพระราขวัง มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในพระองค์ (พระมหากษัตริย์) โดยได้รับการบรรจุ แต่งตั้งเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา คือ ข้าราชการพลเรือนในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งในปัจจุบันไม่มีการให้บุคคลได้รับการบรรจุ แต่งตั้งเป็นข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาแล้ว แต่ทางสถาบันอุดมศึกษาสามารถพิจารณาบรรจุ แต่งตั้งให้เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยมาแทนสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- ฝ่ายบริหาร เช่น อธิการบดี รองอธิการบดี และอาจารย์เป็นต้น
- ฝ่ายวิชาการ เช่น ศาตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และอาจารย์เป็นต้น
- ฝ่ายทั่วไป เช่น ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ ตามที่ ก.พ.อ. กำหนด เป็นต้น
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุ แต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการในสถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา เช่น ครูผู้ช่วย ครู อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์เป็นต้น
- ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา เช่น ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาเป็นต้น
- บุคลากรทางการศึกษาอื่น เช่น ศึกษานิเทศน์ และตำแหน่งที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด
ข้าราชการฝ่ายทหาร
ข้าราชการฝ่ายทหาร คือ บุคคลที่เข้ารับราชการเป็นทหารประจำการ ข้าราชการกลาโหมและพลเรือนที่บรรจุในอัตราทหารในหน่วยงานทางการทหารสงกัดกระทรวงกลาโหมและกองทัพไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ข้าราชการทหาร
ข้าราชการทหาร คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติราชการทหารแบ่งชั้นยศออกเป็นชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตร ซึ่งจะมีชื่อเรียกยศต่างกันตามกองทัพที่สังกัด
2. ข้าราชการกลาโหมพลเรือน
ข้าราชการกลาโหมพลเรือน คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติราชการในกระทรวงกลาโหม แต่ไม่ได้มียศแบบข้าราชการทหาร
ข้าราชการตำรวจ
ข้าราชการตำรวจ คือ ข้าราชการในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงมีฐานะเป็นกรมและอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี โดยการสอบบรรจุ ตั้งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจสามารถทำได้โดยการสอบคัดเลือก โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน คือ ตำรวจที่มียศเป็นสิบตำรวจตรี – ดาบตำรวจ โดยผ่านการคัดเลือกจากอธิบดีกรมตำรวจเพื่อบรรจุให้เป็นตำรวจชั้นประทวน
- ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร คือ ตำรวจที่มียศร้อยตรีขึ้นไป โดยผ่านการคัดเลือกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
ข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้าราชการฝ่ายอัยการ คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุ แต่งตั้งให้รับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด โดยสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
- ข้าราชการอัยการ คือ ข้าราชการที่มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีตามกฎหมาย
- ข้าราชการธุรการ ในหน่วยงานของอัยการ คือ ข้าราชการผู้มีหน้าที่ในทางธุรการ
ข้าราชการรัฐสภา
ข้าราชการรัฐสภา คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุ แต่งตั้งให้ดำรงฝ่ายการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ข้าราชการรัฐสภาสามัญ คือ ข้าราชการซึ่งรับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประจำ โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ ใช้วิธีการจำแนกและกำหนดประเภทตำแหน่งแบบเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ
- ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง คือ ข้าราชการซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง คือ ข้าราชการที่มีอำนาจ หน้าที่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีในศาลปกครอง
- ข้าราชการสำนักงานศาลปกครอง คือ ข้าราชการที่ทำหน้าที่ในด้านธุรการในสำนักงานศาลปกครอง
ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญและสำนักศาลรัฐธรรมนูญ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ข้าราชการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่มีอำนาจ หน้าที่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีในศาลรัฐธรรมนูญ
- ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่ทำหน้าที่ด้านธุรการในสำนักศาลรัฐธรรมนูญ
ข้าราชการสำนักงานป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ข้าราชการสำนักงานป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุ แต่งตั้งให้เป็นข้าราชการมีฐานะเป็นกรม และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบ ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยตรงต่อนายกรัฐมนตรี สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
- ข้าราชการในสายกระบวนการยุติธรรม เช่น ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย
- ข้าราชการทั่วไป เช่น ประเภทวิชาการ หรือข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ทั่วไปในสำนักงานป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นต้น
ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุ แต่งตั้งให้ทำงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานเมืองเทศบาล พนักงานส่วนตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง ซึ่งตำแหน่งของข้าราชการส่วนท้องถิ่น สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
- ฝ่ายบริหารท้องถิ่น
- ฝ่ายอำนวยการท้องถิ่น
- ฝ่ายวิชาการ
- ฝ่ายทั่วไป
ข้าราชการการเมือง
พนักงานของรัฐประเภทอื่น
พนักงานรัฐประเภทอื่นๆ คือ ลักษณะการบริหารจัดการบุคลากรแบบเดียวกับข้าราชการพลเรือนวิสามัญในอดีต โดยเป็นการจ้างให้รับราชการหรือปฏิบัติงานเฉพาะ หรือไม่ดำรงตำแหน่งประจำแบบข้าราชการ ซึ่งได้แก่
1. พนักงานราชการ
พนักงานราชการ คือ บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วนราชการเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการนั้น ซึ่งมีความแตกต่างจากข้าราชการคือ พนักงานราชการมีการหมดสัญญาจ้าง แต่ข้าราชการเป็นลูกจ้างของรัฐตลอดชีพและมีบำเหน็จ บำนาญ
2. พนักงานมหาวิทยาลัย
พนักงานมหาวิทยาลัย คือ พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในมหาวิทยาลัยโดยได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณ
3. พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ คือ พนักงานในองค์กรหรือบริษัท หรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งบรรจุแทนข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ เช่น พนักงานที่ได้รับการบรรจุให้ทำงานในหน่วยงานของการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นต้น
4. พนักงานกระทรวงสาธารณสุข
พนักงานกระทรวงสาธารณสุข คือ พนักงานที่ได้รับการบรรจุทดแทนหรือรองรับบางตำแหน่งของข้าราชการ ในกระทรวงสาธารณสุขช่วงระยะเวลาชั่วคราวหรือจนกว่าตำแหน่งข้าราชการนั้นจะว่าง จึงบรรจุลงเป็นข้าราชการ
5. ลูกจ้างประจำ
ลูกจ้างประจำ คือ บุคลากรของภาครัฐประเภทหนึ่ง ที่มีบทบาทหน้าที่หลักในการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการนั้นๆ ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ