มาดูวิธีคิดค่า GP เรื่องสำคัญสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ สิ่งที่หลายๆคนอาจจะมองข้ามไป หากข้ามเรื่องนี้ไปอาจจะทำให้ร้านค้าของคุณขาดทุนได้เลยทีเดียว วันนี้เราจะมาดูวิธีคิดเงิน (GP) กันดีกว่า แต่ก่อนอื่นเรามารู้จักกับค้า (GP) มันคืออะไร ? วิธีคิดเขาคิดยังไง ?
Gross Profit (GP) คืออะไร ?
ความหมายของ (GP) คือ ยอดขาย (Sales) ลบด้วยต้นทุนขาย (Cost of Goods Sold) ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมแพลตฟอร์มการจัดส่งที่ผู้ประกอบการต่างรู้ดีคือ Gross Profit (GP) ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละแพลตฟอร์ม แต่นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นอีก เนื่องจากผู้ประกอบการต้องกำหนดราคาโดยพิจารณาถึง “วัตถุดิบที่ราคาสูงขึ้นด้วย ดังนั้นในปี 2567 คาดว่าราคาอาหารเฉลี่ยจะต้องปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 2.2% คำถามคือเมื่อสถานการณ์เป็นแบบนี้ วิธีการคิด GP ใน Food Delivery แบบใดจึงจะถูกต้อง แบบที่กำหนดราคาขายแล้วไม่ขาดทุนจนต้องเข้าเนื้อตัวเอง
ค่า GP ของแต่ละค่ายเดลิเวอรี่ตอนนี้เป็นเท่าไหร่กันบ้าง ?
- Grab ค่า GP 30% (ไม่รวม VAT 7%)
- Foodpanda ค่า GP 32% (ไม่รวม VAT 7%)
- LINE MAN ค่า GP 30% (ไม่รวม VAT 7%)
- Robinhood ไม่หักค่า GP แต่สามารถเลือกเป็นพาร์ทเนอร์แนะนำ เก็บเงินค่าขนส่ง Logistic Subsidy 8%
- Shopee Food ค่า GP 30% (ไม่รวม VAT 7%)
จะสังเกตได้ว่าค่า GP ส่วนใหญ่อยู่ประมาณ 30-32% ไม่รวม VAT 7% ซึ่งการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของแอปฯ จะคำนวณจาก รายได้ที่รับจากรายการสั่งอาหารนั้น ๆ ไปเรียบร้อยแล้ว เช่น
- รายการอาหารที่สั่ง 100 บาท หัก ค่า GP 30% = แอปฯ มีรายได้ 30 บาท
- รายได้ 30 บาท จะหักอีก 7% = 2.1 บาท
- หมายความว่าทางร้านอาหารจะมีต้นทุนใช้บริการจากรายการดังกล่าวอยู่ที่ 32.1 บาท
เมื่อทราบว่าต้นทุนที่ควรคิดเพิ่มไปคือ 32.1 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเอาตัวเลข 32.1 นี้ไปบวกกับราคาอาหารในทันทีเพราะหากเป็นเช่นนั้นราคาจะสูงไปมาก แทนที่จะได้ลูกค้าเพิ่ม ใครเห็นราคาอาจจะตกใจจนเราขายไม่ออกกันเลยทีเดียว
สูตรคำนวณที่เป็นมาตรฐานที่ใช้ได้จริงในการตั้งราคาสำหรับเดลิเวอรี่
สูตรมารตฐานคำนวณตั้งราคาขายเดลิเวอรี่
- ราคาหน้าร้าน ÷ [100 – (ค่าGP + VAT 7%)] x 100 = ราคาขายในเดลิเวอรี่
เช่น ราคาหน้าร้านตั้งไว้ 50 บาท
ราคาขายในเดลิเวอรี่ = 50 ÷ (100 – 32.1%) x 100
= 50 ÷ (67.9 x 100)
= 73.6
แต่แน่นอนสูตรนี้ไม่ถูกใจพ่อค้าแม่ค้าหลายๆคน ก็ด้วยความที่มันดูยุ่งยากและใช่ว่าทุกคนจะเก่งเรื่องคณิตศาสตร์ ลองใช้เครื่องคิดเลข เป็นตัวช่วยในการคำนวณดู
การคำนวณตั้งราคาขายเดลิเวอรี่ (แบบใช้เครื่องคิดเลข)
ตัวอย่างเช่น
- ยอดสั่งออร์เดอร์เข้ามา 100 บาท
- ถ้าหัก GP 30% จะเสีย GP = 100 x 30% เท่ากับ 30 บาท
- และหักอีก 7% จากจำนวนยอดที่หักก็คือ 30 บาท เท่ากับเสียภาษี 30 x 7% = 2.1
- ทีนี้ก็เอา ค่า GP 30% + vat 7% = 30 + 2.1 = 32.1
- เท่ากับว่ายอดที่จะโดนหักจากราคาขายคือ 32.1 บาท
- เท่ากับว่าร้านจะได้เงินจากยอดนี้เท่ากับ 100-32.1 = 67.9
ซึ่งถ้าเรารู้ต้นทุนค่า GP รวมที่ต้องจ่ายก็จะทำให้ตั้งราคาขายได้แบบไม่ขาดทุน แต่ก็มีหลายคนบอกว่าใช้เครื่องคิดเลขมาช่วยมันก็ยังดูยากไปอยู่
สูตรวิธีคิดค่า GP สำเร็จง่ายๆ ไม่ต้องคิดมากเอาไปใช้ได้เลย
ตัวอย่างเช่นใช้บริการแอพเดลิเวอรี่ของ Grab
- ราคาเมนูที่ลูกค้าต้องการคือ 50 บาท
- ราคาขายแบบเดลิเวอรี่ คือ 50 x 1.48 = 74 ( เลือกราคาที่ไม่ต่ำกว่านี้เพราะถ้าหากต่ำกว่านี้มีสิทธิ์ขาดทุน )
สรุปวิธีคิดค่า GP
ทั้งนี้ แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ในยุคปัจจุบันได้มีการปรับกลยุทธ์ด้านการตลาดให้ยืดหยุ่นตามสถานการณ์มากขึ้น เช่น บางแพลตฟอร์มได้เน้นทำตลาดร่วมกับร้านอาหารที่ได้รับความนิยมหรือมีการสั่งซื้อมาก และมีการจัดแคมเปญส่วนลดค่าอาหารเมื่อซื้อครบตามที่กำหนด รวมถึงมีการใช้กลยุทธ์แบบ Subscription Model ซึ่งช่วยให้ผู้สั่งได้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง และยังมีส่วนลดหรือบริการอื่น ๆ ในแอปพลิเคชั่น
ดังนั้น ก่อนที่จะเข้าร่วมแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ใด ๆ ควรศึกษารายละเอียดด้านหลาย ๆ ด้าน และต้องคำนึงถึงการคำนวณต้นทุนในแต่ละเมนูให้รอบคอบ เพื่อให้สามารถใช้ตัวเลขที่แท้จริงในการตั้งราคาขายเดลิเวอรี่ได้อย่างถูกต้อง
โอกาสในการเปิดมุมมองใหม่กับ PartTimeTH จะพาคุณสำรวจอาชีพเสริมและแหล่งรายได้ที่หลายคนอาจมองข้ามแล้วพบกันในบทความถัดไป ติดตามประกาศรับสมัครงานเพิ่มเติมได้ที่ Facebook หางาน Part Time งานพิเศษ ทำที่บ้าน เสาร์ อาทิตย์