10 อาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการมากที่สุดในปี 2024 นั้น ครอบคลุมหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรม ปัญญาประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูล ความปลอดภัยไซเบอร์ เทคโนโลยีการแพทย์ การตลาดดิจิทัล และการบริหารจัดการโซ่อุปทาน
โดยอาชีพเหล่านี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ข้อมูล และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่องค์กรต่างๆ ต้องการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลมากขึ้นเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ รวมถึงความต้องการบริการที่ซับซ้อนและเฉพาะทางก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย
นอกจากนี้ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและพัฒนาประสบการณ์ออนไลน์ก็เป็นที่ต้องการสูงเช่นกัน เนื่องจากผู้บริโภคใช้เวลามากขึ้นในโลกออนไลน์ ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล ไปดูกันเลยว่ามี 10 อาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการมีแบบไหนกันบ้างที่กำลังเป็นที่น่าสนใจ
10 อาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการ
1. โปรแกรมเมอร์และนักพัฒนาซอฟต์แวร์
ความต้องการสูงต่อเนื่องจากการเร่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทุกอุตสาหกรรม
นักพัฒนาโปรแกรม หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า นักเขียนโปรแกรม อาชีพที่น่าสนใจแซงหน้าทุกสายอาชีพ องค์กรต่าง ๆ ต้องการพัฒนาศักยภาพทางด้านไอทีของตนเองให้ก้าวหน้า จึงทำให้อาชีพนักพัฒนาโปรแกรมติดอยู่ในอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการสูง เพราะไม่ใช่เพียงแค่การทำงานโดยใช้คำสั่งโปรแกรมต่าง ๆ แต่เป็นอาชีพที่เริ่มตั้งแต่การเขียน coding เพื่อให้เกิดแพลตฟอร์มสามารถตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรและลูกค้า นักพัฒนาโปรแกรมจึงมีฐานรายได้ที่ค่อนข้างสูง รู้แบบนี้แล้ว ใครที่ศึกษาการเขียนโปรแกรม รีบกด submit สมัครตำแหน่งนี้กันแบบรัว ๆ เลยนะคะ
2. นักวิเคราะห์ข้อมูล Data Analyst
ความต้องการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจเพิ่มมากขึ้น
นักวิเคราะห์ข้อมูล หรือ “Data Analyst” เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันเนื่องจากในปัจจุบันหลายองค์กรหันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลมากขึ้นเพราะการเติบโตของเทคโนโลยีรวมไปถึงสภาวะการแข่งขันในหลายอุตสาหกรรมที่มีความเข้มข้น การเข้าใจถึงข้อมูลจนไปถึงสามารถทำนายความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นกลายเป็นหนึ่งในความได้เปรียบในการแข่งขัน
3. ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และเครื่องจักรเรียนรู้ AI Engineer
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการนำไปประยุกต์ใช้งานจริง
ปัจจุบันนี้ AI ถือเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐ การเงิน สุขภาพ และความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของคนในสังคมในยุคนี้ ส่งผลให้บุคคลที่นำ ปัญญาประดิษฐ์ นี้มาพัฒนาองค์กรอย่าง AI Engineer กลายเป็นตำแหน่งที่เป็นที่ต้องการของหลายบริษัทและตลาดแรงงาน หากใครยังสงสัยว่า AI Engineer คืออะไร เรียนจบอะไรมาถึงทำงานด้านนี้ได้ จบมาแล้วสามารถทำงานเกี่ยวกับอะไรได้บ้าง และต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องไหนบ้างถึงจะมีคุณสมบัติเพียงพอต่อตำแหน่งนี้ วันนี้ JobDB มีข้อมูลมาฝากกัน
4. นักออกแบบเว็บไซต์ UX / UI
ความต้องการปรับปรุงและพัฒนาประสบการณ์ออนไลน์
UX มุ่งเน้นไปที่การใช้งานของผู้ใช้เพื่อแก้ปัญหา ส่วน UI มุ่งเน้นที่หน้าตาและการทำงานของผลิตภัณฑ์
UI เน้นที่การดีไซน์ การวาด เติมสีสัน ส่วน UX จะอาศัยทั้งการออกแบบ ทดสอบ สังเกต ติดตามผล วัดผล สรุปผล
ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเว็บไซต์และออกแบบ Mobile Application ต้องนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อให้สามารถออกแบบ UX/UI ได้อย่างโดนใจลูกค้าหรือผู้ใช้งานมากที่สุด อีกทั้งยังต้องคำนึงถึง Mood & Tone ของสินค้าและบริการ นั้น ๆ ด้วย ซึ่งหาก Ux ดีแต่ Ui แย่ ก็อาจทำให้คนไม่ใช้งานเว็บไซต์หรือแอพนี้ ซึ่งอาจทำให้เสียโอกาสได้ลูกค้า แต่หาก Ui สวยแต่ Ux แย่ คนที่เห็นเว็บไซต์และแอพสวยน่าใช้งานก็คงผิดหวังกับการใช้งานที่ยากและซับซ้อนจนไม่อยากใช้งานอีก
5. ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงไซเบอร์ Cybersecurity
ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้น
การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ คือแนวปฏิบัติในการปกป้องคอมพิวเตอร์ เครือข่าย ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน ระบบที่สำคัญ และข้อมูล จากภัยคุกคามทางดิจิทัลที่อาจเกิดขึ้นได้ องค์กรมีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เพื่อรักษาความไว้วางใจของลูกค้าและเป็นไปตามกฎระเบียบ พวกเขาใช้มาตรการและเครื่องมือรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนไม่ให้ถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ตลอดจนป้องกันการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจที่เป็นผลจากกิจกรรมในเครือข่ายที่ไม่พึงประสงค์ องค์กรต่างๆ ปรับใช้การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยการปรับปรุงการป้องกันทางดิจิทัลระหว่างบุคคล กระบวนการ และเทคโนโลยีต่างๆ
6. ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน Logistics Analyst / Logistics Specialist
ความต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน
Supply Chain (ห่วงโซ่อุปทาน) คือ กระบวนการจัดการการผลิตเพื่อทำให้เกิดสินค้าหรือบริการขึ้นมา ทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบ บริหารการผลิต การจัดเก็บสินค้า ไปจนถึงกระบวนการจัดส่งสู่มือของลูกค้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ (Demand) ของลูกค้าได้อย่างครบถ้วนและทั่วถึง
7. นักบริหารจัดการโครงการ Project Manager
ความต้องการวางแผนและจัดการโครงการที่มีความซับซ้อนสูง
การทำงานในด้าน Project Managerจะต้องมีทักษะในการบริหารจัดการที่ค่อนข้างสูง เพราะเป็นตำแหน่งที่เปรียบเสมือนเป็นหัวใจหลักของโครงการใหญ่ๆ หลายโครงการ รวมถึงเป็น ที่ต้องการของตลาดแรงงานแทบทุกธุรกิจ แต่เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้คุณก้าวไปสู่การเป็น Project Manager มืออาชีพที่สามารถบริหารโครงการ’ ให้บรรลุตามเป้าหมาย ทันเวลาและมีคุณภาพตามที่กำหนดโดยใช้ทรัพยากร ขององค์กรได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมมากที่สุด
8. ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล Digital Marketing
ความต้องการทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น
Digital Marketing คือ การทำการตลาดรูปแบบหนึ่งโดยการโปรโมทสินค้าหรือบริการผ่านทางสื่อดิจิทัล และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค เพื่อเพิ่มยอดขายโดยใช้กลยุทธ์ต่างๆ ทางสื่อดิจิทัล ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสื่อเหล่านี้ได้ง่าย และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง
9. ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาแอปพลิเคชัน
ความต้องการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์มือถือ
นักพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือคือผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะซึ่งรับผิดชอบในการสร้าง ทดสอบ และบำรุงรักษาแอปพลิเคชันที่ออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่โดยเฉพาะ เช่น สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ทำงานบนระบบปฏิบัติการต่างๆ รวมถึงแพลตฟอร์ม Android และ iOS ยอดนิยม และสร้างแอปเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ธุรกิจ เกม เครือข่ายสังคม และการปรับปรุงไลฟ์สไตล์ ด้วยความต้องการแอปพลิเคชันบนมือถือที่เพิ่มขึ้น บทบาทของนักพัฒนาแอปบนมือถือจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นใน ทีมพัฒนา ซอฟต์แวร์
10. แพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ความต้องการบริการสุขภาพที่ซับซ้อนมากขึ้น
การแพทย์เฉพาะทาง เป็นสาขาย่อยของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งหลังจากนักศึกษาแพทย์สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจากโรงเรียนแพทย์ แพทย์ที่เรียนจบอาจเลือกศึกษาต่อในสาขาเฉพาะทางโดยสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้านตามสถาบันที่เปิดรับสมัคร และหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็น แพทย์เฉพาะทาง (Medical specialist) ในสาขาที่ศึกษามา
สรุปท้ายบทความ 10 อาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการ
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า 10 อาชีพที่ตลาดต้องการจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ข้อมูล และการบริการที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นที่ต้องการมากที่สุดในตลาดแรงงานปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล นอกจากนี้ ความต้องการแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทางก็เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ มีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น การเตรียมความพร้อมของแรงงานจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยอาชีพเหล่านี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ข้อมูล และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่องค์กรต่างๆ ต้องการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลมากขึ้นเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ รวมถึงความต้องการบริการที่ซับซ้อนและเฉพาะทางก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย
นอกจากนี้ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและพัฒนาประสบการณ์ออนไลน์ก็เป็นที่ต้องการสูงเช่นกัน เนื่องจากผู้บริโภคใช้เวลามากขึ้นในโลกออนไลน์ ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล
ดังนั้น การเตรียมความพร้อมด้านทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการในตลาดแรงงานที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป และสร้างโอกาสในการพัฒนาอาชีพให้กับตนเองในอนาคต
โอกาสในการเปิดมุมมองใหม่กับ PartTimeTH จะพาคุณสำรวจอาชีพเสริมและแหล่งรายได้ที่หลายคนอาจมองข้ามแล้วพบกันในบทความถัดไป ติดตามประกาศรับสมัครงานเพิ่มเติมได้ที่ Facebook หางาน Part Time งานพิเศษ ทำที่บ้าน เสาร์ อาทิตย์