อาชีพนักพากย์เป็นหนึ่งในอาชีพที่สำคัญในวงการบันเทิง เนื่องจากพวกเขาเป็นผู้ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก และเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านเสียงพากย์ให้แก่ผู้ชม ทำให้ผู้ชมได้สัมผัสกับอารมณ์และบรรยากาศของเนื้อเรื่องนั้น ๆ อย่างแท้จริง งานของนักพากย์จึงถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ภาพยนตร์ การ์ตูน รายการโทรทัศน์ และงานบันเทิงต่าง ๆ มีชีวิตชีวาและน่าติดตาม
หน้าที่และลักษณะงานอาชีพนักพากย์
หน้าที่หลักของนักพากย์คือ การใช้เสียงในการถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกของตัวละครหรือสถานการณ์ต่าง ๆ โดยนักพากย์จะต้องทำตัวเสมือนเป็นนักแสดงอยู่ด้วย เพื่อให้เสียงที่ออกมาดูสมจริงและตรงกับคาแรกเตอร์มากที่สุด ประเภทของการพากย์เสียงที่สำคัญ ได้แก่
1. การพากย์เสียง (Voice-over) เป็นการอัดเสียงต้นฉบับโดยนักพากย์อาชีพหรือนักแสดง มักใช้ในรายการสารคดีหรือบทบรรยายก่อนหน้าภาพยนตร์เริ่ม
2. การพากย์เสียงทับ (Dubbing) เป็นการอัดเสียงทับเสียงต้นฉบับเพื่อเป็นเสียงพากย์ในภาษาอื่น โดยนักพากย์จะอ่านบทแล้วเข้าห้องอัดเสียง ส่วนมากจะเป็นการพากย์การ์ตูน/อนิเมะ ซีรีส์ ภาพยนตร์ต่างประเทศ เป็นต้น
ขั้นตอนการทำงาน ได้แก่ การอ่านบทพากย์หรือสคริปท์ การเตรียมร่างกายให้พร้อม การตรวจสอบเครื่องมือ การบันทึกเสียงพากย์ และการนำไปตัดต่อกับวิดีโอ โดยนักพากย์จะต้องฝึกการออกเสียง การตีความบท และการแสดงทางเสียงอย่างสม่ำเสมอ
สถานที่ทำงานส่วนใหญ่จะอยู่ในห้องอัดเสียงหรือสตูดิโอ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มิดชิดและไม่มีเสียงรบกวน นักพากย์อาจต้องทำงานร่วมกับทีมงานอื่น ๆ เช่น วิศวกรเสียง ทีมพากย์ ทีมตัดต่อ และนักเขียนหรือนักแสดร
ความก้าวหน้าในอาชีพและรายได้
นักพากย์อาชีพจะเติบโตได้จากการสั่งสมประสบการณ์และฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ยิ่งมีประสบการณ์มากเท่าไร ก็จะมีโอกาสในการสร้างชื่อเสียงและรายได้ที่สูงขึ้น โดยนักพากย์ที่ประสบความสำเร็จอาจสร้างรายได้ได้มากถึง 1,500,000 – 2,500,000 บาทต่อปี หรือบางครั้งอาจได้รับค่าตอบแทนสูงถึง 10,000 บาทภายในเวลาเพียง 5 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของนักพากย์แต่ละคน
ข้อดีและข้อจำกัดของอาชีพ
ข้อดีของอาชีพนักพากย์ ได้แก่ เป็นงานที่สนุก ไม่ซ้ำซาก มีอิสระ รายได้ดี และไม่มีเกษียณอายุ ขณะที่ข้อจำกัดของอาชีพนี้ คือ ต้องทำงานไม่เป็นเวลา มีความกดดันในการสวมบทบาท และการปรับอารมณ์ให้เข้ากับตัวละคร
คุณสมบัติที่เหมาะสมและทักษะที่จำเป็น
นักพากย์ที่ดีควรมีคุณสมบัติ ได้แก่ มีน้ำเสียงดีและสามารถใช้น้ำเสียงได้หลากหลาย ขยันและตั้งใจฝึกฝน มีความละเอียดรอบคอบ มี Sense ในการรับรู้อารมณ์ และช่างสังเกต
นอกเหนือจากการมีคุณสมบัติและทักษะที่เหมาะสมแล้ว นักพากย์ยังต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งในด้าน Hard Skills และ Soft Skills ดังนี้
การพัฒนา Hard Skills ของนักพากย์
1. รู้จักธรรมชาติและลักษณะเสียงของตนเอง เพื่อเลือกบทบาทที่เหมาะสม
2. ฝึกการออกเสียงให้ชัดเจน ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และเป็นธรรมชาติ
3. ฝึกทำหลายสิ่งไปพร้อมกัน เช่น การอ่าน การออกเสียง และการใส่อารมณ์
4. หัดทำเสียงที่หลากหลาย เพื่อรองรับบทบาทหลายตัวละครในหนึ่งเรื่อง
5. หัดพากย์ในอารมณ์และสถานการณ์ต่างๆ เพื่อสร้างเสียงให้เข้ากับบริบทนั้นๆ
6. ฝึกบังคับและควบคุมการเปล่งเสียง เพื่อให้สามารถสื่ออารมณ์ได้ตรงต้นฉบับ
7. ฝึกทักษะด้านการร้องเพลง หากต้องการขยายวงกว้างไปสู่การพากย์เพลง
8. พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับงานมากขึ้น
การพัฒนา Soft Skills ของนักพากย์
1. ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากเป็นงานที่ต้องทำเป็นทีม
2. พัฒนาทักษะการจัดการเวลา เพื่อรับมือกับภาระงานและความกดดันได้ดี
3. เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหรือการประกวดนักพากย์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์
4. พัฒนาทักษะการฟัง การสังเกต และการคิดวิเคราะห์ เพื่อตีความบทได้อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้ เส้นทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องและช่วยส่งเสริมนักพากย์ ได้แก่ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการแสดง หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับศิลปะการแสดง เพื่อเรียนรู้พื้นฐานการสวมบทบาทและการทำงานเบื้องหลังในวงการบันเทิง
สรุป
อาชีพนักพากย์เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยทักษะและความสามารถเฉพาะตัว ทั้งในด้านบุคลิกภาพ การควบคุมน้ำเสียง การแสดงออกทางอารมณ์ รวมถึงความอดทนและกระตือรือร้นในการฝึกฝน เพื่อให้สามารถถ่ายทอดเสียงและอารมณ์ออกมาได้อย่างสมจริงและน่าติดตาม นอกจากจะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าแล้ว ยังเป็นอาชีพที่ไม่มีเกษียณอายุ หากนักพากย์รักและทุ่มเทให้กับงานอย่างแท้จริง
โอกาสในการเปิดมุมมองใหม่กับ PartTimeTH จะพาคุณสำรวจอาชีพเสริมและแหล่งรายได้ที่หลายคนอาจมองข้ามแล้วพบกันในบทความถัดไป ติดตามประกาศรับสมัครงานเพิ่มเติมได้ที่ Facebook หางาน Part Time งานพิเศษ ทำที่บ้าน เสาร์ อาทิตย์