Burnout Syndrome คืออะไร?
สาเหตุของภาวะหมดไฟในการทำงานหรือ Burnout
โดยสาเหตุหลักที่พบว่า ทำให้เกิดภาวะ Burnout ได้แก่
1.ปริมาณงานที่มากเกินไปอย่างไม่สมเหตุสมผล
พนักงานถูกมอบหมายให้ทำงานเพิ่มเติม ส่งผลให้ปริมาณงานมากเกินไป และไม่สามารถจัดการงานได้ทันกำหนด
2.วัฒนธรรมองค์กรไม่เป็นมิตร
พนักงานได้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เป็นมิตร ไม่ว่าจะเป็นการเหยียดเพศ นินทา การเมือง และการบูลลี่
3.ขาดการสนับสนุนจากหัวหน้างาน
พนักงานไม่ได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างานอย่างเหมาะสม ทำให้รู้สึกขาดที่ปรึกษาและพึ่งพิง
4.การบริหารงานแบบ Micro Management
Micro Management คือ การบริหารงานที่มุ่งเน้นไปที่การควบคุม หรือการดูแลรายละเอียดของงานอย่างมากจนเกินไป จนทำให้พนักงานรู้สึกไม่ได้รับความไว้วางใจ หรือเกิดความไม่มั่นใจในตนเอง
5.เงินเดือน หรือผลตอบแทนที่ไม่ยุติธรรม
เงินเดือน หรือผลตอบแทนที่ไม่ยุติธรรมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พนักงานรู้สึกไร้คุณค่าในที่ทำงาน โดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลัง ทั้งงานหลักและงานที่ได้รับมอบหมายเพิ่มเติม
สาเหตุทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่า แม้ภาวะ Burnout จะเกิดขึ้นที่ตัวพนักงาน แต่องค์กรมีบทบาทสำคัญที่ช่วยป้องกัน และลดโอกาสเกิดภาวะ Burnout ของพนักงานได้
ผลกระทบของภาวะ Burnout ต่อพนักงาน
ภาวะ Burnout ส่งผลกระทบต่อพนักงานโดยตรง ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ยกตัวอย่างผลกระทบ ดังนี้
1.ความรู้สึกเหนื่อยล้าทางอารมณ์
ไม่ว่าจะเป็นอาการอ่อนเพลีย ไม่กระตือรือร้นในการทำงาน หมดกำลังใจ ไปจนถึงความรู้สึกด้านลบต่อตนเองและผู้อื่น โดยอาจนำไปสู่ปัญหาด้านพฤติกรรมและสุขภาพจิตได้ในระยะยาว
2.ปัญหาด้านการนอนหลับ และรับประทานอาหาร
โดยภาวะ Burnout มักก่อให้เกิดปัญหาด้านการนอนหลับและการรับประทานอาหาร ซึ่งอาจทำให้นอนหลับมากหรือน้อยเกินไป และรับประทานอาหารมากหรือน้อยเกินไป อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการใช้สารเสพติดอย่างบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอื่น ๆ
3.ปัญหาด้านสุขภาพ
ภาวะ Burnout ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภูมิคุ้มกันต่ำลง ปวดกล้ามเนื้อ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และอื่น ๆ โดยการศึกษาพบว่า พนักงานกว่า 1 ใน 3 ตัดสินใจลาออก เนื่องจากประสบกับภาวะ Burnout
วิธีแก้ ภาวะหมดไฟในการทำงาน มีอะไรบ้าง?
แล้ว Burnout แก้ยังไงได้บ้าง? โดยองค์กรสามารถลดกระทบจากพนักงาน Burnout ได้ ด้วยการป้องกันโอกาสเกิดภาวะ Burnout ตั้งแต่เนิ่น ๆ ดังนี้
1.การจัดการปริมาณ และความยาก-ง่ายของงานอย่างเหมาะสม
วิธีการนี้จะช่วยไม่ให้พนักงานคนใดคนหนึ่งทำงานมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อการจัดการงาน และมุมมองต่อคุณค่าของตนเอง
2.ปรับปรุงคุณภาพการบริหารงานของหัวหน้าทีม หรือหัวหน้าแผนก
การบริหารงานอย่างมีคุณภาพจะช่วยให้สมาชิกในทีมทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังทำให้เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง
3.สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นมิตร
พื้นที่การทำงานควรปราศจากการบูลลี่ พูดจาเสียดสี เหยียดเพศ และพฤติกรรมอื่นๆ ที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสม เพื่อให้พนักงานรู้สึกว่า ความคิดเห็นของตนเองมีคุณค่าและถูกรับฟัง
4.กำหนดนโยบายเพิ่มเงินเดือน หรือรางวัลตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรม
นโยบายที่ชัดเจนและยุติธรรมจะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่า ความทุ่มเทในหน้าที่การงานถูกมองเห็น และมีคุณค่า
5.ส่งเสริมนโยบายด้านสุขภาพ
สุขภาพที่แข็งแรงช่วยลดโอกาสเกิดภาวะ Burnout ได้ นอกจากนี้ นโยบายส่งเสริมสุขภาพขององค์กร เช่น ส่วนลดฟิตเนส อาหารกลางวันเพื่อสุขภาพ และอื่นๆ ยังชี้ให้พนักงานเห็นถึงความใส่ใจ และคุณภาพชีวิตที่ดี