ธุรกิจ Affiliate Marketing คืออะไร?
ส่วนประกอบหลักของ ธุรกิจ Affiliate Marketing
- ผู้ขายและเจ้าของแบรนด์ (Seller and Brand)
เจ้าของแบรนด์สินค้าที่ต้องการขยายตลาดผ่านการโปรโมทสินค้าโดยบุคคลหรือบริษัทอื่น
- ผู้ทำการโปรโมทหรือพันธมิตร (The Affiliate or Publisher or Influencer)
บุคคลหรือบริษัทที่ทำการโปรโมทสินค้าและบริการผ่านช่องทางของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือสื่อโซเชียลมีเดีย
- ลูกค้า (Customer)
กลุ่มผู้บริโภคที่ติดตามพันธมิตรในช่องทางต่างๆ และทำการซื้อสินค้าและบริการผ่านการโปรโมทของพันธมิตรนั้นๆ
ประเภทของ Affiliate Marketing
- การตลาดพันธมิตรแบบไม่ผูกมัด (Unattached Affiliate Marketing)
การตลาดพันธมิตรแบบไม่ผูกมัดเป็นรูปแบบที่ทำแคมเปญผ่านระบบ PPC (Pay Per Click) ผู้ทำแคมเปญเพียงแค่นำลิงก์สินค้าไปแปะไว้ในช่องทางของตนเอง เมื่อมีคนคลิกซื้อสินค้าผ่านลิงก์นั้น ผู้ทำแคมเปญก็จะได้รับค่า Commission ทันที ข้อดีของรูปแบบนี้คือไม่จำเป็นต้องใช้สินค้าจริง ไม่ต้องมีความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และสามารถโปรโมทสินค้าให้กับกลุ่มผู้ติดตามที่กว้าง ไม่เจาะจงกลุ่ม Niche
- การตลาดพันธมิตรแบบที่เกี่ยวข้อง (Related Affiliate Marketing)
การตลาดพันธมิตรแบบที่เกี่ยวข้องคือการที่แบรนด์ทำแคมเปญร่วมกับ Influencer ที่สร้างคอนเทนต์ในรูปแบบบล็อก, YouTube, TikTok หรืออื่น ๆ โดยมีกลุ่มผู้ติดตามที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์อย่างชัดเจน (Niche Target) ตัวอย่างเช่น เมื่อแบรนด์ A ส่งเครื่องสำอางให้ Influencer รีวิว ถึงแม้ว่า Influencer อาจจะไม่ได้ใช้จริง แต่หากผู้ติดตามชอบก็สามารถกดซื้อผ่านลิงก์ที่ Influencer แปะไว้ เมื่อมีผู้ซื้อจำนวนมาก ค่า Commission ที่ Influencer ได้รับก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
- การตลาดพันธมิตรแบบมีส่วนร่วม (Involved Affiliate Marketing)
การตลาดพันธมิตรแบบมีส่วนร่วมคือการที่แบรนด์ให้ Influencer ทดลองใช้สินค้าจริงๆ หลังจากนั้น Influencer จะนำความรู้สึกและประสบการณ์หลังจากการใช้งานมาทำการรีวิว ซึ่งรูปแบบนี้จะสร้างความน่าเชื่อถือมากกว่าเพราะผู้บริโภคได้รับข้อมูลจากประสบการณ์จริง แม้ว่าจะใช้เวลานานกว่ารูปแบบอื่นๆ และไม่ใช่แค่ PPC แล้วจบ แต่จะเป็นการสร้างผลตอบแทนในระยะยาว
รูปแบบรายได้ของ Affiliate Marketing
- จ่ายต่อการขาย (Pay per Sale – PPS)
รูปแบบนี้เป็นการจ่ายเงินให้กับ Influencer หรือ Publisher โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากราคาสินค้าที่ขายได้ เมื่อมีการซื้อสินค้าผ่านลิงก์ที่ Influencer หรือ Publisher สร้างขึ้น เช่น ถ้าสินค้าราคา 1,000 บาท และมีค่าคอมมิชชั่น 10% Influencer หรือ Publisher จะได้รับเงิน 100 บาทต่อการขายสินค้าหนึ่งชิ้น
- จ่ายต่อการนำเข้าข้อมูล (Pay per Lead – PPL)
การจ่ายเงินรูปแบบนี้ขึ้นอยู่กับการเก็บ Lead เมื่อผู้บริโภคลงทะเบียนหรือสมัครสมาชิกกับทางแบรนด์ผ่านลิงก์ที่ Influencer หรือ Publisher สร้างขึ้น เช่น ถ้ามีคนลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารหรือสมัครสมาชิก Influencer หรือ Publisher จะได้รับค่าตอบแทนตามจำนวนการลงทะเบียนหรือการนำเข้าข้อมูลที่เกิดขึ้น
- จ่ายต่อการคลิก (Pay per Click – PPC)
รูปแบบนี้เป็นการจ่ายเงินให้เมื่อผู้บริโภคคลิกโฆษณาผ่านช่องทางที่ Influencer หรือ Publisher สร้างไว้ โดยไม่จำเป็นว่าผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าหรือไม่ เพียงแค่คลิกผ่านลิงก์ Publisher ก็จะได้รับเงินค่าคลิกตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งรูปแบบนี้เหมาะสำหรับการสร้าง Traffic และการเพิ่มการเข้าถึงเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มของแบรนด์
ธุรกิจ Affiliate Marketing ในไทยมีอะไรบ้าง
1. Accesstrade
Accesstrade เป็นแพลตฟอร์ม Affiliate ที่อยู่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่ปี 2013 มีฐานลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถือเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุดในวงการ ไม่ว่าคุณจะเป็น Publisher สายไหนก็สามารถร่วมงานกับ Accesstrade ได้อย่างสะดวกสบาย
2. Lazada
Lazada Affiliate Program เป็นแพลตฟอร์มชื่อดังที่แทบไม่มีใครไม่รู้จัก โดยให้ค่า Commission สูงถึง 40% พร้อมระบบที่ใช้งานง่าย ช่วยบันทึกยอดขายและ Tracking ยอด Conversion ได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังมีสินค้าหลากหลายให้เลือกโปรโมท
3. Involve Asia
Involve Asia เป็นบริษัท Affiliate ที่มีสาขาทั่วเอเชีย สามารถโปรโมทสินค้าได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีสินค้าแบรนด์ชั้นนำให้เลือกโปรโมทหลากหลาย รูปแบบการจ่ายค่าคอมมิชชั่นมีทั้ง CPC (Cost per click) และ CPA (Cost Per Action) และยังมี Account Manager คอยให้คำแนะนำอีกด้วย
4. Priceza
Priceza เป็นเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบราคาสินค้า พร้อมกับ Affiliate Program ที่สามารถเลือกสินค้ามาโปรโมทผ่านช่องทางของตนเอง การจ่ายเงินจะเป็นระบบ CPS (Cost Per Sale) โดยมีสินค้าแบรนด์ดังมาเข้าร่วมมากมาย
5. Shopee
Shopee Affiliate Program ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน แต่ก็มีการแข่งขันที่สูงเช่นกัน สามารถเลือกวิธีการโปรโมทสินค้าได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการรีวิว เขียน Content หรือการเปรียบเทียบสินค้า เมื่อมีลูกค้ากดซื้อสินค้าผ่านลิงค์ ก็จะได้รับค่า Commission โดยค่า Commission ของสินค้าแต่ละชิ้นจะแตกต่างกันไป
6. Tiktok
Tiktok เปิดโอกาสให้กับ Influencer ที่มียอดติดตาม 1,000 คนขึ้นไปเข้าร่วมทำ Affiliate โดยมีความแตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นๆ ผู้ใช้งานสามารถทำคลิปรีวิวสินค้าสั้นๆ แล้วแปะลิงค์ตะกร้าสินค้าในคลิปได้เลย และยังเพิ่มตะกร้าสินค้านั้นไปที่ช่อง Tiktok ของตัวเองได้อีกด้วย ส่วนค่า Commission ของสินค้าแต่ละชิ้นก็จะแตกต่างกันไป
นอกจากนี้ยังมี Affiliate Marketing ในไทยเจ้าอื่นๆ อีกมากมายในปัจจุบัน เช่น Agoda, Canva, Sellxabuy และ Ecomobi เป็นต้น